Abstract Submission
คำแนะนำการเขียนบทคัดย่อ (Abstract)
สำหรับการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 60 (MDCU Congress 2024)
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ในระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2567
ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)
ภายใต้หัวข้อ “Navigating the Future of Healthcare: Integrating Technology and Patient-Centered Care in General Medicine”
- เขียนบทคัดย่อเป็น ภาษาอังกฤษ เท่านั้น ส่งมาในรูปแบบ ไฟล์ pdf
- ความยาว ไม่เกิน 300 คำ และอยู่ใน 1 หน้ากระดาษ A4
- ประกอบด้วย (ดูตามตัวอย่าง)
- ชื่อเรื่อง
- ชื่อผู้เขียน โดยใช้นามสกุลขึ้นก่อน ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อต้นและชื่อกลาง
- สถาบันที่สังกัด
- บทคัดย่อทั้งหมด ต้องเขียนแบบ structured abstract โดยแยกหัวข้อเป็น Objective, Materials & Methods, Results และ Conclusion ยกเว้น การรายงานผู้ป่วย เท่านั้น จึงอนุโลมให้เป็น unstructured abstract ได้
- กรุณาใช้ font Angsana New ขนาดตัวหนังสือ 16 และจัดบรรทัดแบบ single space
- กรุณาตรวจทานแก้ไขคำผิดในบทคัดย่อก่อนส่ง และระบุจำนวน word count ด้านล่างในบทคัดย่อ
การส่งบทคัดย่อ : https://www.mdcuconference.com
**กรุณาส่งบทคัดย่อภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567**
บทคัดย่อที่นำส่งภายหลังจากวันที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณา
หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ศูนย์ประชุมวิชาการ โทร. 0 2256 4193
และหากมีปัญหาในการ upload เอกสาร กรุณาติดต่อสอบถามที่ศูนย์ประชุมวิชาการ โทร. 092 283 7066
คำแนะนำในการเขียนบทความสำหรับลงหนังสือประกอบการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 60 (E-book)
การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 60
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ในระหว่างวันที่ 14 - 16 สิงหาคม 2567
ณ ห้องประชุมอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
คณะกรรมการฝ่ายบริการวิชาการ จะจัดทำหนังสือประกอบการประชุมวิชาการประจำปีฯ (Electronic book) ซึ่งเป็นบทความของวิทยากรที่บรรยายในการประชุม และบทความทางวิชาการอื่น ๆ ดังนั้น จึงใคร่ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจ เขียนบทความเพื่อลงในหนังสือดังกล่าว ดังนี้
การจัดเตรียมต้นฉบับ (Manuscript preparation) ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ (โปรดดูตัวอย่างที่แนบมา)
- เตรียมต้นฉบับโดยใช้โปรแกรม Word for Windows ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 จัดบรรทัด แบบ single space ระยะห่างจากขอบอย่างน้อย 1 นิ้ว ทุกด้าน บนกระดาษขนาด A4
- ชื่อเรื่อง เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น การส่องกล้องหลอดลมเพื่อลดปริมาตรปอด (bronchoscopic lung volume reduction)
- ชื่อผู้เขียน ตำแหน่งทางวิชาการ และสถาบันที่สังกัด ในกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน และสังกัดต่างสถาบันกัน ให้กำกับท้ายชื่อผู้เขียนด้วยตัวเลขยกขึ้นข้างบน และกำกับหน้าชื่อสถาบันด้วยตัวเลขเดียวกันยกขึ้นข้างบน
- บทความ (Proceedings) เขียนเป็นภาษาไทย ประกอบด้วย 3 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ บทนำ เนื้อเรื่อง และสรุป เขียนให้กระชับและชัดเจน โดยเน้นจุดมุ่งหมายของเรื่อง ส่วนการเน้นหัวข้อต่าง ๆ ให้ใช้อักษรตัวหนา (Bold) ไม่ต้องขีดเส้นใต้
- ความยาวของบทความทั้งหมดรวมเอกสารอ้างอิงไม่จำกัดจำนวนหน้า ในกรณีที่จะขอตำแหน่ง ผศ. รศ. ต้องใช้เอกสารที่มีความยาวมากกว่า 50-80 หน้า
- การใช้เครื่องหมาย % หากเนื้อหาเขียนภาษาไทยควรใช้เป็น ร้อยละ เช่น การเกิดภาวะ pneumothorax ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 86 เกิดภายใน 3 วันแรก หากเนื้อหาส่วนนั้นเป็นภาษาอังกฤษควรใช้เป็น % เช่น lifetime risk of breast cancer 15-20%
- ตาราง ให้แทรกไปในตัวบทความในตำแหน่งที่ต้องการ (ไม่ต้องแยกไว้ท้ายเรื่อง) พิมพ์คำว่า ตารางที่ (Table) ตามด้วยตัวเลข และตามด้วยชื่อหรือคำอธิบายตาราง ถ้าตารางมีข้อความมากสามารถใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กลงได้ หากเป็นตารางหรือรูปภาพ กรุณาแจ้งแหล่งที่มา
- รูปภาพประกอบ และแผนภูมิต่าง ๆ ให้แทรกไปในตัวบทความในตำแหน่งที่ต้องการ พิมพ์คำว่า รูปที่ (Figure) ตามด้วยตัวเลข และตามด้วยชื่อหรือคำอธิบายภาพ ถ้าเป็นภาพจากการถ่ายเอกสาร ขอให้มี คุณภาพดี ลายเส้นคมชัด หากเป็นตารางหรือรูปภาพ กรุณาแจ้งแหล่งที่มา
- เอกสารอ้างอิง (References) เขียนเรียงตามลำดับอ้างก่อนหลัง มีเลขกำกับข้อ การอ้างถึงเอกสารอ้างอิงในบทความให้ใช้เป็นตัวเลขอารบิกในวงเล็บทำตัวยกขึ้นบน การเขียนเอกสารอ้างอิง ใช้แบบ Vancouver (Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals) ดังตัวอย่างต่อไปนี้
9.1 Standard journal article
List all authors; if the number exceeds six, list the first six authors followed by et al.
- Patradul A, Kitidumrongsook P, Parkpian V, Ngarmukos C. Allograft replacement in giant cell tumour of the hand. Hand Surg 2001;6:59-65.
- Kamolratanakul P, Dhanamun B, Lertmaharit S, Seublinwong T, Udomsangpetch R, Chirakalwasorn N, et al. Malaria in rural area of eastern Thailand: baseline epidemiological studies at Bo Thong. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1992;23:783-7.
9.2 Books and chapters in a book
- Ringsven MK, Bond D. Gerontology and Leadership Skills for Nurses. 2nd ed. Albany: Delmar Publishers, 1996.
- Phillips SJ, Whisnant JP. Hypertension and stroke. In: Laragh JH, Brenner BM, editors. Hypertension: Pathophysiology, Diagnosis, and Management. 2nd ed. New York: Raven Press, 1995: 465-78.
- ทัสสนี นุชประยูร. การออกแบบการวิจัยทางการแพทย์. ใน: ทัสสนี นุชประยูร, เติมศรี ชำนิจารกิจ, บรรณาธิการ. สถิติในวิจัยทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์, 2537: 18-54.
9.3 ชื่อย่อของวารสารอ้างอิง ให้ย่อตามแบบของ National Library of Medicine ที่ใช้อยู่ใน Index Medicus
9.4 ใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ให้เหมือนในตัวอย่าง
- กรุณาตรวจทานแก้ไขคำผิด ให้เรียบร้อยก่อนส่งต้นฉบับ
- หลังจากตีพิมพ์ใน E-book บทความจะต้องอนุญาตให้เผยแพร่ได้ใน Website การประชุม และแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
- กรุณาระบุ Keyword ในบทความ อย่างน้อย 3 คำ เพื่อใช้สำหรับการขอรหัส DOI (กรอกตอนลงทะเบียนส่งบทความในระบบ)
- การส่งบทความ (Proceedings)
ส่งบทความที่ : https://www.mdcuconference.com
กำหนดส่งต้นฉบับภายใน วันที่ 19 กรกฏาคม 2567 มิฉะนั้นบทความของท่านอาจจะมิได้รับพิจารณาลงตีพิมพ์