การจัดประชุมวิชาการ

ศูนย์ประชุมวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการฝ่ายบริการวิชาการ มีหน้าที่ในการจัดประชุมวิชาการ  มีดังนี้

  1. การจัดปรุมวิชาการประจำปี ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. การจัดประชุมวิชาการประจำเดือน 
  3. การจัดประชุมวิชาการร่วมกับคณะแพทยศาสตร์สถาบันอื่น
  4. การจัดประชุมวิชาการภาคประชาชน
  5. การจัดประชุมวิชาการอื่น ๆ ที่คณะแพทยศษสตร์ จุฬาฯ มอบหมายให้ดำเนินการ เช่น การจัดประชุม การประชุม QS Subject Focus Summit – Medicine 2020 การจัดประชุมวิชาการ TPAA เป็นต้น 

วัตถุประสงค์การจัดประชุมวิชาการ

  • เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ
  • เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการประกันคุณภาพในการให้บริการด้านสาธารณสุข
  • เสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการภายในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • เป็นเวทีการนำเสนอผลสร้างความเชื่อมโยงอันดีในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถาบัน 

 

รูปแบบการจัดประชุมวิชาการ

  • การจัดประชุมแบบผสมผสาน (Hybrid)  คือ มีผู้เข้าร่วมประชุม ณ สถานที่จัดงาน (Onsite) และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online)
  • การจัดประชุมรูปแบบ Onsite
  • การจัดประชุมรูปแบบ Online ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ

ประกอบด้วย : 

  • การบรรยาย/การอภิปรายกลุ่มสหสาขา (multidisciplinary discussion)
  • การนำเสนอผลงานวิจัย 
  • การจัดแข่งขันตอบปัญหาเกี่ยวกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (MDCU medical tournament)
  • กิจกรรม Open house โดยภาควิชาต่าง ๆ
  • งานพบปะสังสรรค์ของศิษย์เก่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (MDCU alumni meeting)
  • การบรรยายให้ความรู้ในส่วนกิจกรรมภาคประชาชน

การให้บริการ

  • ให้คำแนะนำหลักเกณฑ์การเขียนโครงการจัดประชุมวิชาการในเบื้องต้น
  • ให้คำแนะการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมวิชาการ
  • จัดประชุมวิชาการให้กับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย
  • เปิดให้บริการสร้าง Website และระบบลงทะเบียน ภายใน Website MDCU Conference (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) ให้กับหน่วยงานภายใน
  • เปิดให้เช่าระบบการจัดประชุมวิชาการแบบเสมือนจริง  (Virtual Meeting Platform) ภายใต้ระเบียบการใช้ระบบของศูนย์ประชุมวิชาการ